สังเกตอย่างไร ว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น

พ่อแม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าลูกของคุณกำลังเป็นเด็กสมาธิสั้น ถ้าปล่อยไว้จนโตไม่ปรับไม่รักษาโรคสมาธิสั้นเด็กแย่แน่ๆ วันนี้เลยมีวิธีสังเกตพฤติกรรมของลูกมาฝาก ว่าลูกมีอาการสมาธิสั้นหรือไม่ พร้อมแล้วไปดูกันค่ะ

ลักษณะอาการที่บ่งบอกว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น

• ทำของหายบ่อย

• วอกแวกง่าย

• ไม่ฟังเวลามีคนพูดด้วย

• ไม่ใส่ใจในรายละเอียดของสิ่งต่างๆ มีความเลินเล่อ ไม่ระมัดระวังในการทำงาน

• ไม่มีสมาธิต่อเนื่องกับงานหรือแม้แต่การเล่น

• ทำตามคำสั่งไม่จบหรือทำงานไม่เสร็จ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการดื้อต่อต้านใดๆ

• มีปัญหากับการจัดระบบงานหรือกิจกรรมต่างๆ

• ไม่ชอบและพยายามเลี่ยงที่จะทำในสิ่งที่ต้องใช้ความพยายาม เช่น ทำการบ้าน

• ชอบลืมสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวันด้วยยา แต่ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบไหน ผู้ปกครองและแพทย์ที่รักษาควรปรึกษาและตัดสินใจร่วมกันอย่างใกล้ชิด

ผลกระทบต่อการเรียนรู้เมื่อเด็กมีอาการเด็กสมาธิสั้น

เมื่อโรคสมมาธิสั้นเกิดขึ้นกับเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเรียนวัยที่กำลังต้องการการพัฒนาในช่วงต่างๆ ก็จะทำให้มีปัญหาในการเรียน เรียนได้ไม่เต็มศักยภาพที่ควรจะเป็น ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาแล้วละก็เด็กก็มักจะมีผลการเรียนต่ำกว่าความสามารถจริงของสมอง แต่ในเคสที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม และตัวเด็กเองมีความฉลาดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เด็กก็จะมีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

ทุกอย่างรักษาได้

การรักษาโรคสมาธิสั้นนั้นมีอยู่ 2 แบบคือการรักษาด้วยยา เพื่อปรับให้สารเคมีในสมองกลับมาสมดุลอีกครั้ง ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้ได้ผลโดยประมาณ 70% ส่วนการรักษาอีกแบบจะเป็นการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เน้นไปที่การสร้างพฤติกรรมเชิงบวกให้แก่เด็ก ที่ต้องผ่านการฝึกฝนไปตามวัย ซึ่งมีทั้งการฝึกทักษะในการจัดการตัวเอง ทำตามแผน ตามเวลา จัดการกับอารมณ์ของตัวเด็กเอง และการฝึกทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงการสื่อสาร การปฏิบัติตัวตามกฎระเบียบที่สังคมได้กำหนดไว้ การทำงานร่วมกันกับครอื่น ซึ่งทั่วไปแล้วการรักษาแบบนี้จะเน้นรักษาควบคู่ไปกับการรักษา

หากพบว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้นไม่ต้องตกใจ เพราะสามารถและปรับอาการสมาธิสั้นของลูกให้ดีขึ้นได้ ด้วยคอร์สฝึกสมาธิสั้นของสถาบัน BrainFit Studio ที่จะทำให้อาการสมาธิสั้นของลูกคุณดีขึ้นอย่างเห็นผลชัดเจน